ต่อมไร้ท่อ (ENDOCRINE GLAND) หมายถึง ต่อมไม่มีท่อ สิ่งที่หลั่งจากต่อมเหล่านี้
เข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนโดยตรง ไม่ต้องผ่านท่อ ดังนั้นเซลล์ของต่อมไร้ท่อจะสัมผัส
กับหลอดเลือดฝอยภายในต่อมอย่างใกล้ชิด ต่อมเหล่านี้จึงมีเลือดมาเลี้ยงอย่างมากมาย
สิ่งมีชีวิตจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ จำเป็นต้องมีการทำงานที่สอดคล้องกัน
อย่างเหมาะสม ของระบบต่างๆ การควบคุมดังกล่าวจัดแบ่งได้ 2 ระบบ คือ ระบบประสาท
(nervous system) และระบบ ต่อมไร้ท่อ (endocrine system) การทำงาน ประสานงานอย่าง
ใกล้ชิดของระบบทั้งสอง เรียกว่า ระบบ ประสานงาน (coordination) การทำงานของระบบ
กล้ามเนื้อ การรับรู้ การตอบสนองสิ่งเร้าต่างๆ เป็นหน้าที่ ของระบบประสาท ส่วนการควบคุม
ลักษณะ ที่เปลี่ยนแปลงของร่างกายแบบ ค่อยเป็น ค่อยไป ของวัยหนุ่มสาวที่ เกิดขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง การควบคุมปริมาณสารบางอย่างในร่างกายเป็นหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ
ที่สร้างสารเคมี ที่เรียกว่า ฮอร์โมน ไปควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย (target organ)
อย่างเหมาะสม ของระบบต่างๆ การควบคุมดังกล่าวจัดแบ่งได้ 2 ระบบ คือ ระบบประสาท
(nervous system) และระบบ ต่อมไร้ท่อ (endocrine system) การทำงาน ประสานงานอย่าง
ใกล้ชิดของระบบทั้งสอง เรียกว่า ระบบ ประสานงาน (coordination) การทำงานของระบบ
กล้ามเนื้อ การรับรู้ การตอบสนองสิ่งเร้าต่างๆ เป็นหน้าที่ ของระบบประสาท ส่วนการควบคุม
ลักษณะ ที่เปลี่ยนแปลงของร่างกายแบบ ค่อยเป็น ค่อยไป ของวัยหนุ่มสาวที่ เกิดขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง การควบคุมปริมาณสารบางอย่างในร่างกายเป็นหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ
ที่สร้างสารเคมี ที่เรียกว่า ฮอร์โมน ไปควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย (target organ)
ต่อมเดียวกันอาจมีทั้งต่อมไร้ท่อและต่อมมีท่ออยู่ด้วยกัน เช่น ตับอ่อน หลั่งน้ำย่อย
ผ่านท่อไปสู่ดูโอดีนัม และขณะเดียวกันกลุ่มเซลล์ของตับอ่อน (ISLETS OFLANGERHANS)
ก็หลั่งฮอร์โมนสู่กระแสเลือดโดยตรง อัณฑะ ก็สร้างตัวอสุจิผ่านออกไปทางท่อ แต่ขณะเดียว
กันก็มีกลุ่มเซลล์เลย์ดิก (CELLS OF LEYDIG) สร้างฮอร์โมนเพศสู่กระแสโลหิต
ผ่านท่อไปสู่ดูโอดีนัม และขณะเดียวกันกลุ่มเซลล์ของตับอ่อน (ISLETS OFLANGERHANS)
ก็หลั่งฮอร์โมนสู่กระแสเลือดโดยตรง อัณฑะ ก็สร้างตัวอสุจิผ่านออกไปทางท่อ แต่ขณะเดียว
กันก็มีกลุ่มเซลล์เลย์ดิก (CELLS OF LEYDIG) สร้างฮอร์โมนเพศสู่กระแสโลหิต
ต่อมไร้ท่อสร้างสารเคมีซึ่งมักจะเรียกว่า ฮอร์โมน(HORMONES) ซึ่งจะไปควบคุมหรือดัด
แปลงสมรรถภาพของเซลล์ของ อวัยวะเป้าหมาย ผลของมันอาจไปกระตุ้น หรือ ยับยั้ง ก็ได้
1) ต่อมมีท่อ ( exocrine gland ) เป็นต่อมที่ผลิตสารออกมาแล้วมีท่อลำเลียงออกมาภายนอกได้
เช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำลาย
2) ต่อมไร้ท่อ ( endocrine gland ) เป็นต่อมที่ผลิตสารออกมาแล้วไม่มีท่อลำเลียงออกมา
ภายนอกต้องอาศัยการลำเลียงไปกับน้ำเลือด ในสัตว์ที่ไม่มีเลือดก็จะแพร่ผ่านไปตามเนื้อเยื่อ
สารที่สร้างขึ้น เรียกว่า ฮอร์โมน ( hormone ) ซึ่งมีผลต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเฉพาะอย่าง
เรียกอวัยวะที่ฮอร์โมนไปมีผลเรียกว่า "อวัยวะเป้าหมาย"
ภายนอกต้องอาศัยการลำเลียงไปกับน้ำเลือด ในสัตว์ที่ไม่มีเลือดก็จะแพร่ผ่านไปตามเนื้อเยื่อ
สารที่สร้างขึ้น เรียกว่า ฮอร์โมน ( hormone ) ซึ่งมีผลต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเฉพาะอย่าง
เรียกอวัยวะที่ฮอร์โมนไปมีผลเรียกว่า "อวัยวะเป้าหมาย"
การสังเกตว่าต่อมใดเป็นไร้ท่อจะสังเกตได้จากลักษณะต่อไปนี้
1. ไม่มีท่อลำเลียงสารที่ผลิตได้ออกภายนอกต่อม
2. มีเส้นเลือดจำนวนมากเพื่อทำหน้าที่ลำเลียงสารที่ต่อมผลิตได้ไปยังอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
3. เซลล์ที่เป็นองค์ประกอบของต่อรูปร่างพิเศษ สังเกตได้ว่าแตกต่างจาก cell อื่นๆ
4. สารที่ผลิตได้จะมีลักษณะเฉพาะไม่สามารถถูกสร้างได้จากต่อมอื่น
5. สารที่ผลิตได้มีผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะของตนเองในลักษณะจำเพาะ
2. การจำแนกต่อมไร้ท่อตามความสำคัญต่อชีวิต
2.1 ) Essential endocrine gland เป็นต่อมไร้ท่อที่จำเป็นมาก ถ้าขาดแล้วทำให้ตายได้ ได้แก่ต่อมดังต่อไปนี้
1. ต่อมพาราไทรอยด์ ( parathyroid )
2. ต่อมหมวกไตชั้นนอก ( adrenal cortex )
3. ต่อมไอส์เลตของตับอ่อน ( islets of Langerhans )
2.2 ) Non - Essential endocrine gland เป็นต่อมที่ไม่จำเป็นหรือจำเป็นน้อยมากต่อร่างกาย ได้แก่ต่อมดังต่อไปนี้
1. ต่อมใต้สมอง ( pituitary )
2. ต่อมไทรอยด์ ( thyroid )
3. ต่อมหมวกไตชั้นใน ( adrenal medulla )
4. ต่อมไพเนียล ( pineal )
5. ต่อมไทมัส ( thymus )
6. ต่อมเพศ ( gonads )
3. ประเภทของสารในฮอร์โมน
ในฮอร์โมนมีสารอยู่หลายประเภท แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสารประเภทดังต่อไปนี้
1. สารประเภทโปรตีนและพอลิเพปไทด์ ( polypeptide )
2. สารประเภทสเตรอยด์ ( steroid )
3. สารประเภทอนุพันธ์ของกรดอะมิโน
4. สารประเภทอนุพันธ์ของกรดไขมัน
4. จุดกำเนิดของต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อ ( endocrine gland ) เป็นต่อมที่ทำหน้าที่ในการลำเลียงฮอร์โมน
และปล่อยสู่กระแสเลือด เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากต่อมไร้ท่อ จึงมีความสำคัญมาก
เพราะเป็นตัวนำฮอร์โมนจากต่อม ต่อมไร้ท่อมีการเปลี่ยนแปลงมาจาก เนื้อเยื่อทั้ง 3 ชั้น
คือ เอกโทเดิร์ม ( ectoderm ) มีโซเดิร์ม ( mesoderm ) และ เอนโดเดิร์ม ( endoderm )
target organ
1. ต่อมใต้สมอง (PITUITARY GLAND)
2. ต่อมไทรอยด์ (THYROID GLAND)
3. ต่อมพาราไทรอยด์ (PARATHYROID GLAND)
4. ตับอ่อน (PANCREASE)
5. ต่อมหมวกไต (ADRENAL GLAND)
6. ต่อมเพศ (GONAD)
7. ฮอร์โมนจากรก
8. ต่อมไพเนียล (PINEAL GLAND)
9,ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น